HOME > INTERVIEW > Chokchai Agricultural Machinery กับความท้าทายในการเพิ่มศักยภาพอุตสาหกรรมการเกษตรในประเทศไทยด้วยหุ่นยนต์และเทคโนโลยี

Chokchai Agricultural Machinery กับความท้าทายในการเพิ่มศักยภาพอุตสาหกรรมการเกษตรในประเทศไทยด้วยหุ่นยนต์และเทคโนโลยี


INTERVIEW

Chokchai Agricultural Machinery กับความท้าทายในการเพิ่มศักยภาพอุตสาหกรรมการเกษตรในประเทศไทยด้วยหุ่นยนต์และเทคโนโลยี

ประเภทธุรกิจ และผลิตภัณฑ์ของบริษัทโชคชัยจักรกลเกษตรจำกัด

       บริษัทเราทำเกี่ยวกับเครื่องจักรการเกษตรมาประมาณ 50 ปีแล้ว เริ่มจากทำอุปกรณ์เครื่องจักรพวก เฟือง เพลา ต่อมาก็ขยับขึ้นมาทำรถแทรกเตอร์ และเครื่องจักรการเกษตรทุกชนิด OEM ส่งให้กับญี่ปุ่นทั้งYANMAR และ KUBOTA ส่งออกหลายประเทศทั้งในเอเชียและแอฟริกา มีพนักงานประมาณ 200 คน ผลิตภัณฑ์ของเรารองรับการทำเกษตรหลัก ๆ ทุกประเภท ทั้งข้าว ข้าวโพด อ้อย มันสำปะหลัง และอื่นๆ ครบทั้ง 3 โหนด ตั้งแต่การเตรียมดิน การปลูก และการบำรุงรักษา   

จุดแข็งของโชคชัยจักรกลเกษตร

       เรามีจุดแข็งในเรื่องของการดีไซน์ มี R&D เป็นของตัวเอง รู้ว่าอะไรคือการเกษตร รู้ความต้องการของเกษตรกร สามารถออกแบบและผลิตได้อย่างตรงตามความต้องการ เรามีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกันพัฒนาเพื่อส่งเสริมและสนับการทำเกษตรอย่างรอบด้าน

นโยบายที่โชคชัยจักรกลเกษตรให้ความสำคัญในการดำเนินงานเป็นพิเศษ

       นโยบายหลักให้ความสำคัญกับลูกค้า ดูที่ความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก ลูกค้าต้องการอะไร ออกแบบให้เหมาะสมความต้องการของลูกค้า คำนึงถึงคุณภาพสินค้า

เกี่ยวกับการจัดการสอนการอบรมเจ้าหน้าที่ทางเทคนิคของโชคชัยจักรกลเกษตร

       เราอบรมพนักงานเป็นประจำ เรียนรู้จากอาจารย์มหาวิทยาลัย เชิญอาจารย์มหาวิทยาลัยมาให้ความรู้ ทั้งการเพราะปลูกและการเก็บเกี่ยว เรียนรู้ถึงอณุภาคของดิน ดินเหนี่ยวเป็นอย่างไร ดินทรายอย่างไร อุปกรณ์ที่ใช้กับดินแต่ชนิดควรเป็นอย่างไร เราเรียนรู้ไปถึงเรื่องของปุ๋ย ต้องใส่ปุ๋ยอะไร ใช้ยังไง พนักงานทุกคนได้รับการอบรม โดยเฉพาะทีมงาน R&D ต้องรู้ว่าจะผลิตอะไร อย่างไร ให้กับประเทศไหน

อุปสรรคและปัญหาในการบริหารจัดการ

      อุปสรรคและปัญหาในการบริหารจัดการทุก ๆ ที่จะคล้าย ๆ กันคือเรื่องคน ไทยตอนนี้มีปัญหาเรื่องขาดแคลนแรงงานต้องพึงพิงแรงงานต่างชาติ ปัญหา Supplier ส่วนใหญ่เป็น Supplier ไทย ซึ่งไม่เพียงพอเราทำเครื่องจักรกลเทคโนโลยีค่อนข้างสูง หลายอย่าง Supplier ทำให้ไม่ได้ ทำได้ก็ไม่เพียงพอ เราเน้นที่ 4.0 แต่เราก็ยัง 2.0 บ้าง 2.5 บ้าง 3.0 บ้าง แต่อุปสรรคและปัญหาหลัก ๆ คือเรื่องของคนมากกว่า

มีสำนักงานอยู่ในต่างประเทศหรือไม่ และมีแผนในการเปิดสำนักงานต่างประเทศอย่างไร

      สำนักงานในต่างประเทศเรามีที่พม่า กำลังศึกษาว่าจะเปิดโรงงานที่พม่าด้วย มีการหารือถึงการเปิดโรงงานทั้งที่อินเดียและอินโดนีเซีย แต่ที่น่าสนใจกว่าคือไนจีเรีย เพราะเป็นตลาดใหญ่มาก อยู่แนวระนาบเดียวกับประเทศไทย ฤดูกาลและภูมิอากาศเหมือนกัน ต้องการเครื่องจักรใกล้เคียงกัน เราส่งออกไปประเทศมาลีปีหนึ่งประมาณพันกว่าคัน ถ้าความต้องการเป็นแบบนี้เราต้องเปิดโรงงานเพื่อลดต้นทุนการขนส่ง เมื่อก่อนเราส่งข้าวออกไปขาย แต่ตอนนี้เค้าปลูกข้าวเอง เค้าต้องการนำเข้าเครื่องจักรจากเรา

โชคชัยจักรกลเกษตร มีความสนใจที่จะร่วมธุรกิจกับบริษัทญี่ปุ่นหรือไม่ ถ้ามี มีความสนใจในธุรกิจประเภทใด

      ความสนใจในการทำงานร่วมกับบริษัทญี่ปุ่น ตอนนี้เราก็ทำกับญี่ปุ่น 2-3 ที่อยู่แล้ว แต่ก็สนใจจะทำเพิ่มเพราะเป็นโอกาสทางการค้า ญี่ปุ่นอยากมาทำตลาดในไทย ไทยอยากได้เทคโนโลยีญี่ปุ่น เทรนด์ของธุรกิจจะไปในเรื่อง Robot และ 4.0 ญี่ปุ่นมีเทคโนโลยีก็อยากนำมาใช้ ยันมาร์ผลิตรถแทรกเตอร์ที่ใช้ GPS แทนการใช้คนขับ ยุโรปใช้ Robot ทดแทนแรงงาน ใช้โดรนแทนคนในการพ่นยา เราเองตอนนี้ก็ร่วมกับมหาวิทยาลัย ศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาเครื่องเพราะปลูกผักด้วย Robot ซึ่งอนาคตประชากรภาคเกษตรจะลดลง ปีนี้ประมาณ 20% และจะลดลงไปเรื่อย ๆ

เกี่ยวกับข้อดีและอุปสรรคกับการทำงานกับคนญี่ปุ่น

      อุปสรรคในการทำงานกับคนญี่ปุ่นเราไม่ค่อยมี เราผลิตตามความต้องการ แม้ทำงานร่วมกับญี่ปุ่นแต่ก็ใช่ว่าเราเอาของญี่ปุ่นทั้งหมด หลายอย่างเราออกแบบเอง ญี่ปุ่นช่วยดูในรายละเอียดอีกเล็กน้อย เราออกแบบตัวดันดินทำคันนาให้กับยันมาร์ ญี่ปุ่นเค้าไม่มีตัวดันดินติดกับรถแทรกเตอร์ แต่คนไทยจำเป็นต้องใช้ เทคโนโลยีญี่ปุ่นมีข้อดี ช่วยทำให้เราได้มีโอกาสทำงานที่ยากขึ้น ท้าทายความสามารถเรามากขึ้น

มีความสนใจในเทคโนโลยีหรือผลิตภัณฑ์ของประเทศญี่ปุ่นบ้างหรือไม่

       เราสนใจในเทคโนโลยีของญี่ปุ่นโดยเฉพาะเทคโนโลยี Robot และเทคโนโลยีอะไรที่ทำให้ผลผลิตของเกษตรกรดีขึ้น เรามีเน็ตเวิร์คอยู่หลายประเทศเป็นประโยชน์กับญี่ปุ่นหากจะมาร่วมเรา เราอยากเห็นประเทศไทยหรือโรงงานเราเป็น Hub ด้านเครื่องจักรกลการเกษตรต่อไปในอนาคต

ความคิดเห็นเกี่ยวกับอุตสาหกรรมการเกษตรในประเทศไทย

       เกี่ยวกับอุตสาหกรรมการเกษตรของไทยโดยรวม เราเติบโตเรื่องการส่งออก แต่ความต้องการในประเทศเริ่มหดตัว ราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำ มีคู่แข่งทางการตลาดทั้งจีนและเวียดนาม ผู้ผลิตของไทยเน้นการส่งออก 3-5 หมื่นล้านต่อปีโดยประมาณ เติบโตปีละประมาณ 10% -15% ปัจจุบันความต้องการเครื่องจักรกลการเกษตรที่แอฟริกาค่อนข้างเยอะ ผลิตภัณฑ์ของไทยราคาและคุณภาพสามารถดึงความน่าสนใจได้มาก

เกี่ยวกับความสนใจในงานจับคู่ธุรกิจ งานแสดงสินค้า และงานแลกเปลี่ยนทางธุรกิจที่จัดในไทยหรือประเทศญี่ปุ่น

       งานจับคู่ธุรกิจ งานแสดงสินค้าหรืองานแลกเปลี่ยนทางธุรกิจ มีความสนใจอยู่ เราพร้อมจะร่วมลงทุนกับญี่ปุ่น เราเป็นสมาชิก DITP (Department of International Trade Products) ซึ่งมีการจัดงานหลายครั้ง เชิญทางไนจีเรีย รัสเซียมา ญี่ปุ่นเองเราก็คุย หากจะร่วมอะไรกับเรา เราก็พร้อม

สุดท้ายนี้อยากฝากอะไรถึงผู้อ่านทุกท่าน

      เราเป็นบริษัททำเครื่องจักรกลการเกษตรมายาวนานหลายสิบปี เราเชื่อว่าเราเป็นที่หนึ่งในเรื่องเครื่องจักรกลการเกษตรของประเทศ ทำเครื่องจักรการเกษตรหลักของไทย ทั้ง ข้าว ข้าวโพด อ้อย มันสำปะหลังและอื่นๆ เช่น พืชพลังงานและพืชอาหารสัตว์ อีกทั้งเรามองในเรื่อง Value Chain การเกษตรของทั้งประเทศไม่เฉพาะแค่ตัวเรา

ข้อมูลบริษัท

Chokchai Agricultural Machinery Co., Ltd.

Address:229/3 Moo 4 Soi Petchkasem 99,
Petchkasem Rd., Omnoi, Krathumbaen,
Samut Sakhon 74130 Thailand
Tel : 02 420 5378-84
Email : info@chokchai.co.th
URL : http://www.chokchai.co.th

บทสัมภาษณ์วันที่ : 7 สิงหาคม 2019



เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดย เปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า