อย่างที่ทุกท่านทราบ ประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่นนั้นมีการสร้างความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดในหลากหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ อุตสาหกรรม วัฒนธรรม ฯลฯ หากเราย้อนเวลาไปสังเกตประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น จะมีประวัติศาสตร์เก่าแก่ที่สุดตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาที่เริ่มมีความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างประเทศ จนถึงช่วง 134 ปีก่อนหน้าปัจจุบัน หรือในปี ค.ศ. 1887 ที่ได้มีการสถาปนาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทย – ญี่ปุ่น อย่างเป็นทางการ ซึ่งระหว่างช่วงปี ค.ศ. 1950 จนถึงปี ค.ศ. 1960 นั้นผู้ผลิตยานยนต์จากประเทศญี่ปุ่นได้เดินทางมาตั้งฐาน การผลิตในประเทศไทย อันส่งผลให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของอุตสาหกรรมยานยนต์ที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในปัจจุบัน อีกทั้งประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่นยังมีการแลกเปลี่ยนทางด้าน วัฒนธรรมการบริโภคอาหารเป็นอย่างมาก หลายปีที่ผ่านมานี้ร้านอาหารในประเทศญี่ปุ่น ที่มีเมนูอาหารไทยก็มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น (จากการทดสอบค้นหารายชื่อร้านอาหารที่เสิร์ฟอาหารไทยจากเว็บไซต์นักชิมรายใหญ่ของประเทศญี่ปุ่น นั้นแจ้งว่ามีมากกว่า 2,000 ร้าน)
ชื่อประทศ | ประเทศญี่ปุ่น |
พื้นที่ | 377,975 ตารางกิโลเมตร (พื้นที่ประมาณ 70% ของประเทศไทย) |
ประชากร | 126,160,000 คน (ที่มา : กระทรวงเทคโนโลยีและการสื่อสารประเทศญี่ปุ่น ปี 2019) |
เมืองหลวง | กรุงโตเกียว ประชากร 13,920,000 คน (ที่มา : สำนักกิจการทั่วไป กรุงโตเกียว ปี 2019) |
ภาษา | ภาษาญี่ปุ่น |
ความแตกต่างของเวลากับประเทศไทย | +2 ชม. |
ระบอบการปกครอง | ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ |
ระบบรัฐสภา | ระบบรัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร (สภาล่าง) สมาชิก 465 คนมีวาระ 4 ปี (ยุบได้) ราชมนตรีสภา (สภาสูง) สมาชิก 245 คนมีวาระ6 ปี (ไม่มีการยุบ) |
สภานิติบริหาร | มีโครงสร้างแบบ 1 สำนักนายกรักฐมนตรี 12 กระทรวง ได้แก่ สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงเทคโนโลยีและการสื่อสาร กระทรวงการเงิน กระทรวงการต่างประเทศ ฯลฯ มีนายกรัฐมนตรีคือ คุณ ซูงะ โยชิฮิเดะ (เริ่มดำรงตำแหน่ง 16 ก.ย. 2020) |
ดัชนีชี้วัดพื้นฐานทางเศรษฐกิจ | ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ |
ระบบรัฐสภา | ระบบรัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร (สภาล่าง) สมาชิก 465 คนมีวาระ 4 ปี (ยุบได้) ราชมนตรีสภา (สภาสูง) สมาชิก 245 คนมีวาระ6 ปี (ไม่มีการยุบ) |
สภานิติบริหาร | มีโครงสร้างแบบ 1 สำนักนายกรักฐมนตรี 12 กระทรวง ได้แก่ สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงเทคโนโลยีและการสื่อสาร กระทรวงการเงิน กระทรวงการต่างประเทศ ฯลฯ มีนายกรัฐมนตรีคือ คุณ ซูงะ โยชิฮิเดะ (เริ่มดำรงตำแหน่ง 16 ก.ย. 2020) |
ดัชนีชี้วัดพื้นฐานทางเศรษฐกิจ | หัวข้อมูลค่าการนำเข้า | ปี 2016 | ปี 2017 | ปี 2018 | ปี 2019 | ปี 2020 |
ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศหรือ Nominal GDP (หน่วย : ร้อยล้าน ดอลลาร์) |
5,003.678 | 4,930.837 | 5,036.892 | 5,148.781 | 5,048.688 | |
GDP ต่อหัว (หน่วย : ดอลลาร์) |
39,411.424 | 38,903.298 | 39,818.795 | 40,801.655 | 40,146.07 | |
อัตราการขยายตัวของ GDP | 0.8% | 1.7% | 0.6% | 0.3% | -4.8% | |
อัตราการว่างงาน | 3.11% | 2.83% | 2.44% | 2.36% | 2.79% | |
มูลค่าการส่งออก | 644,578 ล้านดอลลาร์ |
697,220 ล้านดอลลาร์ |
737,845 ล้านดอลลาร์ |
705,682 ล้านดอลลาร์ |
639,962 ล้านดอลลาร์ |
|
มูลค่าการส่งออกไทย | 27,384 ล้านดอลลาร์ |
29,394 ล้านดอลลาร์ |
32,249 ล้านดอลลาร์ |
30,186 ล้านดอลลาร์ |
25,469 ล้านดอลลาร์ |
|
มูลค่าการนำเข้า | 607,019 ล้านดอลลาร์ |
670,970 ล้านดอลลาร์ |
748,108 ล้านดอลลาร์ |
720,764 ล้านดอลลาร์ |
634,053 ล้านดอลลาร์ |
|
มูลค่าการนำเข้าจากไทย | 20,124 ล้านดอลลาร์ |
22705 ล้านดอลลาร์ |
25,067 ล้านดอลลาร์ |
25,359 ล้านดอลลาร์ |
23,740 ล้านดอลลาร์ |
|
สินค้าหลัก | ส่งออก : รถยนต์, เคมีภัณฑ์, ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เช่น สารกึ่งตัวนำ ฯลฯ เข้า : เคมีภัณฑ์, ผลิตภัณฑ์อาหาร, น้ำมันดิบ |
|||||
ประเทศคู่ค้าหลัก | นำเข้า : อันดับ 1 : จีน (22.1%) อันดับ 2 : อเมริกา (18.4%) อันดับ 3 : เกาหลี (7.0%) ส่งออก : อันดับ 1 : จีน (25.8%) อันดับ 2 : อเมริกา (11.0%) อันดับ 3 : ออสเตรเลีย (5.6%) (ข้อมูลปี 2020) |
|||||
การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ(หน่วย : ร้อยล้านเยน) | อันดับ 1 : อเมริกา 19,140 (48.3%)
อันดับ 2 : อังกฤษ 3,122 (7.9%)
อันดับ 3 : ฮ่องกง 2,519 (6.4%) อันดับ 4 : สิงคโปร์ 2,090 (5.4%) อันดับ 5 : จีน 2,090 (5.3%) |
|||||
สกุลเงิน | บาท | |||||
อัตราแลกเปลี่ยน | 1 ดอลลาร์ ≒ 108.66 เยน (ข้อมูลเดือน มี.ค. 2021) | |||||
จำนวนชาวไทยที่อาศัยในประเทศญี่ปุ่น | 53,344 คน (ข้อมูลจาก “สถิติชาวต่างชาติที่อยู่ในประเทศญี่ปุ่น” กระทรวงยุติธรรม มิ.ย. 2020) |
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมานั้น สังคมประเทศไทยได้เข้าสู่ “สังคมผู้สูงอายุ” ซึ่งเริ่มเป็นประเด็นทางสังคมขึ้นเรื่อย ๆ ในขณะเดียวกัน ประเทศญี่ปุ่นเองก็ได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ
ก่อนหน้าประเทศไทยมาก่อนหน้าหลายปีแล้ว ปัจจุบันจำนวนสัดส่วนผู้สูงอายุ (ผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป) เทียบกับจำนวนประชากรในประเทศไทยทั้งหมดนั้น ถือว่ามีสัดส่วนอยู่ที่ 12%
ซึ่งเป็นตัวเลขสัดส่วนผู้สูงอายุต่อประชากรทั้งหมดของประเทศญี่ปุ่นเมื่อ 35 ปีก่อนหน้านี้ หากดูตัวเลข ณ ปัจจุบัน ประเทศญี่ปุ่นจะมีผู้สูงอายุเป็นสัดส่วนมากกว่า 25% ของประชากร
และคาดการณ์ไว้ว่าประเทศไทยจะเข้าสู่สถานการณ์เดียวกันหลังจากนี้อีก 20 ปีให้หลัง และเนื่องจากประเทศญี่ปุ่นได้เดินทางเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ก่อนหน้าประเทศไทยเป็นเวลานานนั้น
ประเทศญี่ปุ่นจึงมีเทคโนโลยี Know how และผลิตภัณฑ์ด้านการบริบาล ด้านสุขภาพ (Health Care) เป็นจำนวนมาก ซึ่งตลาดด้านการบริบาลและผลิตภัณฑ์ด้าน Health Care
ของประเทศไทยอาจจะยังอยู่ในจุดเริ่มต้น แต่ในอนาคตก็จะถือได้ว่าเป็นตลาดแขนงที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากอย่างแน่นอน และในขณะเดียวกัน เนื่องจากปัญหาการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ
ซึ่งมีความเกี่ยวเนื่องกับสถานการณ์ประชากรวัยทำงานที่น้อยลง จะส่งผลให้การเพิ่ม ประสิทธิภาพการผลิตและความสามารถในการผลิตในภาคอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมนั้น
เป็นประเด็นที่ต้องจัดการตรียมตัวอย่างเร่งด่วน
จนถึงปัจจุบันอุตสาหกรรมการผลิตจากประเทศญี่ปุ่นอันมีอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์เป็นศูนย์กลางนั้น
ได้เป็นอุตสาหกรรมที่ผลักดันเศรษฐกิจของประเทศไทยให้เติบโตขึ้นตลอดมา แต่ภายหลังจากนี้เราเชื่อว่านอกเหนือจากอุตสาหกรรมการผลิตจากประเทศญี่ปุ่นแล้ว ด้วยการนำเข้าเทคโนโลยีและ Knowhow ต่าง ๆ
จากประเทศญี่ปุ่น อุตสาหกรรมแขนงอื่น ๆ ก็จะสามารถผลักดันเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยให้เติบโตได้เป็นอย่างสูงเช่นกัน
หากท่านเป็นผู้ประกอบการที่มีความสนใจที่ร่วมทำธุรกิจกับธุรกิจจากประเทศญี่ปุ่น เรายินดีที่จะเป็นที่ปรึกษาและคนกลางจัดหาคู่ธุรกิจและประสานงานการเจรจาธุรกิจให้ด้วยบริการที่หลากหลายและยืดหยุ่นโดยทีมงานมืออาชีพของเรา
จากการคาดคะเนจำนวนประชากรของสหประชาชาตินั้น ประเทศไทย จะมีจำนวนผู้สูงอายุที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป โดยคิดเป็นสัดส่วนกับประชากรทั้งหมดของประเทศอยู่ที่ 10.6% ในปี ค.ศ. 2015 และเพิ่มขึ้นเป็น 19.4% ในปี ค.ศ. 2030
และจะพุ่งสูงขึ้นไปจนถึง 29.0% ในปี ค.ศ. 2050 จึงกล่าวได้ว่า สภาวะสังคมผู้สูงอายุของประเทศไทยนั้นจะคืบหน้าไปอย่างรวดเร็วต่อจากนี้ ซึ่งการพัฒนาบริการและธุรกิจด้านสุขภาพและการบริบาล
จะเป็นประเด็นสำคัญที่ประเทศไทยต้องเตรียมตัวเป็นอย่างยิ่งเพื่อตอบรับสังคมผู้สูงอายุในอนาคต
ในขณะเดียวกัน ประเทศญี่ปุ่นเองก็ได้มีสัดส่วนผู้สูงอายุเมื่อเทียบกับจำนวนประชากรเกินกว่า 10% ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1985 และหลังจากนั้นสังคมผู้สูงอายุของประเทศญี่ปุ่นก็ได้รุดหน้าอย่างรวดเร็ว โดยถูกคาดคะเนว่าสัดส่วนผู้สูงอายุของประเทศญี่ปุ่นนั้นจะเกินกว่า
30% ในปี ค.ศ. 2030 ซึ่ง หากมองที่ตัวเลขการเติบโตของสังคมผู้สูงอายุ ในประเทศญี่ปุ่นแล้ว จะเห็นได้ว่าประเทศญี่ปุ่นใช้เวลาถึง 45 ปี สัดส่วนผู้สูงอายุถึงจะเกินกว่า 30% ในขณะที่ประเทศไทยจะรุดหน้าเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยใช้เวลาน้อยกว่าประเทศญี่ปุ่น
จากการที่ประเทศญี่ปุ่นได้มีการเตรียมตัวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเป็นเวลานานกว่าประเทศไทย ประเทศญี่ปุ่นจึงได้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เทคโนโลยีและ Know how ที่เกี่ยวข้องกับด้านสุขภาพและการบริบาล ไปพร้อม ๆ กับตลาดที่เติบโตขึ้น
ตัวอย่างธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและการบริบาลของประเทศญี่ปุ่น เช่น “โรงเรียนที่ให้ความรู้ด้านการดูแลผู้สูงอายุหรือ Know how ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง” หรือ “บริการตกแต่ง Reform ภายในบ้านเพื่อการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุให้สามารถใช้ชีวิตภายในบ้านได้ง่ายขึ้น” เป็นต้น
ประเทศไทย กำลังจะเดินทางเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุในลักษณะเดียวกับประเทศญี่ปุ่นได้เดินเข้ามาก่อนหน้าแล้ว และอุปสงค์ทางด้านผลิตภัณฑ์และบริการที่เกี่ยวข้องกับด้านสุขภาพและผู้สูงอายุในประเทศไทยก็จะเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอนเหมือนกับประเทศญี่ปุ่นซึ่งถือเป็นโอกาสทางธุรกิจที่ดีที่เราจะสามารถนำองค์ความรู้ของประเทศญี่ปุ่น ที่ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุก่อนหน้า มาปรับใช้กับประเทศไทยในอนาคต
ที่มา : JAPAN is BACK
ที่มา : (WHO) Global Health Expenditure Database
ที่มา : JETRO
ที่มา : JETRO
ที่มา : JETRO
ที่มา : คาดการณ์จำนวนประชากรโดยสหประชาชาติ
ประเทศไทยมีมูลค่าการส่งออกสินค้าอาหารอยู่ที่ประมาณ สามล้านเก้าแสนเก้าหมื่นล้านเยน (คาดการณ์ตัวเลขปี ค.ศ. 2021) ซึงถือได้ว่าเป็นประเทศที่มีการส่งออกในระดับชั้นนำของโลก
ในขณะเดียวกันมูลค่าการส่งออกของสินค้าด้านอาหารของประเทศญี่ปุ่นนั้น แม้หลายปีที่ผ่านมานี้ในตลาดประเทศไทยจะมีโอกาสได้เห็นผลิตภัณฑ์อาหารนำเข้าจากประเทศญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น
แต่ตัวเลขการส่งสินค้าด้านอาหารของประเทศญี่ปุ่น ใน ปี ค.ศ. 2021 นั้นมีแค่เก้าแสนหนึ่งหมื่นสองพันหนึ่งร้อยล้านเยน (รวมจำนวนส่งออกมายังประเทศไทยที่ สี่หมื่นหนึ่งร้อยล้านเยน)
ซึ่งถือได้ว่าเป็นตัวเลขที่ต่ำกว่าประเทศไทยมาก แต่ถึงอย่างนั้นผลิตภัณฑ์ด้านอาหารจากประเทศญี่ปุ่นเองก็มีจุดแข็งในด้านเทคโนโลยีที่เพิ่มคุณภาพของผลิตภัณฑ์ เช่น รสชาติและบรรจุภัณฑ์ ของอาหารที่สูง
ไม่ว่าจะเป็นผลไม้อย่างแอปเปิล หรือ สตรอเบอรี่ ที่เห็นได้บ่อย ๆ หรืออาหาร แปรรูปอย่างผลิตภัณฑ์ขนมจากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเนื่องมาจากประเทศญี่ปุ่น นั้นมีพื้นที่ที่ใช้ในการเพาะปลูกค่อนข้างน้อย
ทำให้ประเทศญี่ปุ่นบ่มเพาะเทคโนโลยีและ Know how การเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตรให้สูงด้วยปัจจัยสภาพแวดล้อมพื้นที่การเพาะปลูกที่ต่ำมาจนถึงปัจจุบัน
นอกจากนี้ ณ ปัจจุบันประเทศญี่ปุ่น ได้มีการนำแนวคิด “Sixth Industrialization” หรือ “อุตสาหกรรมขั้นที่ 6” เข้ามาปรับใช้ในภาคการเกษตร และการประมงอย่างเฟื่องฟู
ซึ่งแนวคิด “อุตสาหกรรมขั้นที่ 6” นั้น เป็นแนวคิดการรวมกลุ่มอุตสาหกรรมได้แก่ การเกษตรและการประมง ซึ่งเป็น “อุตสาหกรรมขั้นที่ 1” รวมเข้ากับ การผลิตและแปรรูป ซึ่งเป็น “อุตสาหกรรมขั้นที่ 2”
และ ผนวกกับภาคการตลาดและจัดจำหน่าย ฯลฯ ซึ่งเป็น “อุตสาหกรรมขั้นที่ 3” ตามสูตร 1x2x3=6 หรือ “อุตสาหกรรมขั้นที่ 6” เพื่อให้เกิดกระบวนการผลิตแปรรูปและจำหน่ายเป็นหนึ่งเดียวกัน
โดยมีจุดประสงค์เพื่อผลักดันให้ชาวเกษตรกร และชาวประมงในท้องถิ่นสามารถเพิ่มมูลค่าผลผลิตแบบใหม่โดยใช้ทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์จากท้องถิ่น ส่งผลให้เกิดการเพิ่มรายได้ ของชาวเกษตรกร ชาวประมงและการสร้างงานในท้องถิ่น
ซึ่งในประเทศไทยเอง แม้จะมี การผลิตผลผลิตทางด้านการเกษตรและการประมงอย่างเฟื่องฟู แต่อาจจะมีโอกาสทางธุรกิจที่ซ่อนอยู่ในแนวคิด “อุตสาหกรรมขั้นที่ 6” ของประเทศญี่ปุ่น เช่น ไม่เพียงแต่ทำการผลิตผลผลิตอย่างเดียว
แต่หันมาทำการเพิ่มมูลค่าผลผลิตให้สูงขึ้น ซึ่งจะเชื่อมต่อไปยังการท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่เป็นจุดแข็งของประเทศไทยก็เป็นได้
ประเภทผลิตภัณฑ์ | ปี 2019 (ล้านล้านเยน) |
ปี 2020 (ล้านล้านเยน) |
เทียบปีก่อนหน้า |
ผลิตภัณฑ์การเกษตร | 5.878 | 6.560 | + 11.6% |
ผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูป (สุรา เครื่องปรุง เครื่องดื่มซอฟท์ดริงค์ ขนม ฯลฯ) | 3.271 | 3.740 | + 14.3% |
ผลิตภัณฑ์ปศุสัตว (เนื้อสัตว์ ผลิตภัณฑ์นม ไข่ไก่ เนื้อโค หนังสัตว์ เช่น วัว สุกร ฯลฯ) | 0.708 | 0.771 | + 8.9% |
ธัญพืช ฯลฯ (แป้งสาลี ข้าว ฯลฯ) | 0.462 | 0.510 | + 10.5% |
ผักและผลไม้ ฯลฯ (ผลไม้และผัก น้ำผลไม้ ผักและผลไม้กระป๋อง ฯลฯ) | 0.445 | 0.453 | + 1.9% |
ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรอื่น ๆ (บุหรี่ เมล็ดพันธ์สำหรับเพาะปลูก ดอกไม้ ชา ฯลฯ) | 0.992 | 1.085 | + 9.4% |
ที่มา : กระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมงประเทศญี่ปุ่น
ในปี 2020 มีมูลค่าการส่งออกที่ 40,100 ล้านเยน (อันดับ 7 ของโลก, เทียบกับปีก่อนหน้า +1.5%)
ที่มา : กระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมงประเทศญี่ปุ่น
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมานี้ ประเทศไทยได้พบกับปัญหาด้านมลภาวะทางอากาศจนกระทั่งเป็นปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมที่ใหญ่มากขึ้นโดยเฉพาะปัญหาค่าจำนวนฝุ่นละออง PM 2.5 ที่สูงขึ้นมากในปี ค.ศ. 2018 จนถึงปี ค.ศ. 2019 สถิติจำนวนฝุ่นละออง PM 2.5 นั้น สูงที่สุดนับตั้งแต่มีการบันทึกมา ซึ่งสาเหตุเกิดจากอากาศที่แห้งและไม่มีฝนตกในช่วงฤดูหนาวประเทศไทย รวมถึงมีวันที่ค่า PM 2.5 สูงกว่าค่ามาตรฐานสิ่งแวดล้อมที่องค์การอนามัยโลก กำหนดไว้เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก ซึ่งส่งผลให้ คนไทยในปัจจุบันมีจิตสำนึกต่อมลภาวะสิ่งแวดล้อมมากขึ้น นอกจากนี้ สถานการณ์ด้านคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำ ก็ถือได้ว่าเป็นปัญหาทางสิ่งแวดล้อมที่ประเทศไทย กำลังเผชิญอยู่เช่นกัน จากข้อมูลการสังเกตุการณ์ในปี ค.ศ. 2016 พบว่าคุณภาพของน้ำในแม่น้ำ ทะเลสาบ และ อ่างเก็บน้ำมีค่าดี 34% ค่าปกติ 46% และค่าต่ำ 20% ซึ่งถึงแม้ว่าตัวเลขเมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อนหน้านั้นจะมีแนวโน้มตัวเลขที่ดีขึ้น แต่ผลกระทบจากการมลภาวะทางน้ำที่มีผลการะทบจากการปล่อยน้ำเสียจากทั้งภาคอุตสาหกรรมและการเกษตร ทำให้เกิดปัญหาน้ำเสียในแม่น้ำที่ไหลผ่านพื้นที่เมือง เขตอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม (โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีจำนวนการทำปศุสัตว์จำนวนมาก)
ขณะเดียวกัน ในประเทศญี่ปุ่นเองการปนเปื้อนทางอากาศและน้ำ ฯลฯ ได้กลายเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ใหญ่ขึ้นในปีโชวะที่ 30 (ปี ค.ศ. 1955) ซึ่งเป็นช่วงที่เศรษฐกิจญี่ปุ่นเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ในช่วงการฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังสงครามโลก ประเทศญี่ปุ่นเกิดความต้องการทางด้านพลังงานเพิ่มขึ้นจนส่งผลให้เกิดการเผาไหม้เชื้อเพลิงซึ่งเป็นแหล่งพลังงานอย่างน้ำมันและถ่านหินจนก่อให้เกิดการปนเปื้อนทางอากาศ ซึ่งโดยส่วนมากเป็นการปนเปื้อนของสารประกอบซัลเฟอร์ออกไซด์ (SOx) ทำให้สภาพอากาศที่แย่เริ่มเป็นปัญหาใหญ่ขึ้น นอกจากนี้ยังมีปัญหาด้านคุณภาพของน้ำซึ่งมีสาเหตุจากการปล่อยน้ำเสียของภาคอุตสาหกรรมเป็นหลัก จนเกิดผลกระทบต่อสุขภาพ ของพลเมืองอย่างรุนแรงมาแล้ว ซึ่งก่อให้เกิดการเรียกร้องจากพลเมืองเพื่อต่อต้านการสร้างมลภาวะทั่วประเทศ และทำให้เกิดการแก้ไขมลภาวะด้วยการร่างกฎหมายและระบบที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม จนกระทั่งแก้ไขปัญหาได้เป็นผลสำเร็จ
แต่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ จากการกลับมาปล่อยควันเสียจากโรงงานและอุตสาหกรรมต่าง ๆ รวมถึงการปล่อยไอเสียจากรถยนต์ ฯลฯ ทำให้ปัญหาด้านการปนเปื้อนในตัวเมืองและชีวิตประจำวันได้กลับมาอีกครั้ง ซึ่งทางรัฐบาลประเทศญี่ปุ่นก็ได้ออกนโยบายต่าง ๆ เพื่อทำการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในอุตสาหกรรมแต่ละประเภท ผลคือจำนวนการร้องเรียนปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมมายังกระทรวงเทคโนโลยีและการสื่อสารนั้นได้ลดลง ซึ่งปัจจุบันประเทศญี่ปุ่นยังคงดำเนินการแก้พัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการปัญหาสิ่งแวดล้อมต่อไป
No. | สินค้า | ปี 2020 | |
มูลค่า (ล้าน USD) | +/-(%) | ||
1 | รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ | 2,158.66 | 30.22 |
2 | ไก่แปรรูป | 1,410.26 | -0.87 |
3 | เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล | 903.91 | -9.64 |
4 | เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ | 874.44 | -4.33 |
5 | เคมีภัณฑ์ | 702.62 | 46.57 |
6 | ผลิตภัณฑ์พลาสติก | 744.64 | -7.12 |
7 | เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่น ๆ | 672.44 | -29.07 |
8 | เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ | 744.64 | -21.94 |
9 | ผลิตภัณฑ์ยาง | 521.6 | 4.03 |
10 | เม็ดพลาสติก | 629.01 | -28.8 |
การส่งออกรวม | 22,876.32 | -6.72 |
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร
เรียบเรียงโดย สำนักพัฒนาตลาดและธุรกิจไทยในต่างประเทศ 1 กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
ประเทศไทย ได้รับอานิสงค์จากการลงทุนจากประเทศญี่ปุ่น โดยมีธุรกิจที่เป็นศูนย์กลางการลงทุนคืออุตสาหกรรมยานยนต์ ซึ่งแต่เดิมเป็นการศึกษาและเข้ามาลงทุนในประเทศไทยโดยชาวญี่ปุ่นเอง
แต่นอกจากผู้ผลิตยานยนต์หรือเครื่องใช้ไฟฟ้ารายใหญ่จากประเทศญี่ปุ่นแล้วนั้น ธุรกิจรายย่อยจากประเทศญี่ปุ่นถือได้ว่ามีนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่มีลักษณะโดดเด่นเป็นอย่างสูง
แต่บริษัทเหล่านั้นไม่มีประสบการณ์และความกล้าในการลงทุนระหว่างประเทศ รวมถึงการมาของเทรนด์ธุรกิจที่มีโอกาสเติบโตในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ
เช่นอุตสาหกรรมการแพทย์ หรือ อุตสาหกรรมด้านการเกษตร อาหาร และระบบอัตโนมัติ จึงถือได้ว่าโอกาสทางธุรกิจต่อจากนี้อาจจะไม่ใช่การดึงนักลงทุนรายใหญ่จากประเทศญี่ปุ่น
แต่จะเป็นการเชิญชวนธุรกิจรายย่อยจากประเทศญี่ปุ่นที่มีเทคโนโลยี หรือนวัตกรรมโดยฝั่งประเทศไทย มาผนวกเข้ากับตลาดในประเทศไทยที่มีศักยภาพ เช่น ตลาดผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ หรือด้านการเกษตรเป็นต้น
ในขณะเดียวกัน การลงทุนในประเทศญี่ปุ่นโดยชาวไทยนั้น หากไม่นับอุปสรรคด้านภาษาแล้ว เงื่อนไขการลงทุนในประเทศญี่ปุ่นนั้นไม่ได้ยุ่งยากหรือวุ่นวายกว่าประเทศอื่นนัก
รวมตลาดในประเทศญี่ปุ่นถือได้ว่าเป็นตลาดที่มีกำลังซื้อสูง มีประชากรกว่า 127 ล้านคน และมีพฤติกรรมการบริโภคและใช้บริการที่หลากหลายณ ปัจจุบันมีนักลงทุน จากประเทศไทยที่ลงทุนในประเทศญี่ปุ่นหลากหลายสาขา
เช่น ด้านพลังงานแสงอาทิตย์ การท่องเที่ยว อาหาร และโรงแรม และกลุ่มธุรกิจที่กำลังเติบโตในปัจจุบันของประเทศญี่ปุ่นจะเป็นธุรกิจด้านพลังงานทดแทนและพลังงานหมุนเวียน ธุรกิจสินค้าเพื่อสุขภาพและการดูแลผู้สูงวัย
และธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับปัญญาประดิษฐ์ (AI) และ IoT
อุปสรรคสำคัญอย่างหนึ่งในการทำธุรกิจกับชาวญี่ปุ่นที่ถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นอันดับแรกคืออุปสรรคทางด้านภาษา เนื่องจากภาษาราชการของประเทศญี่ปุ่นเป็นภาษาญี่ปุ่น รวมถึงบุคลากรญี่ปุ่นที่สามารถสนทนาภาษาอังกฤษนั้นมีจำนวนค่อนข้างน้อย จึงทำให้การติดต่อสื่อสารจำเป็นที่จะต้องใช้ภาษาญี่ปุ่นเป็นหลัก รวมถึงการธุรกิจ ผ่านการสื่อสารด้วยภาษาญี่ปุ่นจะเป็นการเพิ่มความน่าเชื่อถือ จากบริษัทคู่ค้าชาวญี่ปุ่นเป็นอย่างมาก และยังช่วงลดโอกาสการเกิดความผิดพลาดทางการสื่อสารได้อีกด้วย เพื่อเพิ่มโอกาสทางด้านการเจรจาธุรกิจกับคู่ค้าชาวญี่ปุ่น เรายินดีที่จะเป็นตัวกลางการเจรจาธุรกิจโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการเจรจาธุรกิจระหว่างประเทศ ไทย – ญี่ปุ่น ที่สามารถสนทนาได้ทั้งสองภาษาและเข้าใจวัฒนธรรมการทำธุรกิจระหว่างประเทศไทยกับญี่ปุ่นเป็นอย่างดีให้กับท่านได้